กทม. เชื่อมต่อ “หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine”
กรุงเทพมหานคร (กทม.) เดินหน้านโยบายสุขภาพดี “หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine” บนแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” เพื่อแก้ปัญหาการรอคิวในการเข้าพบแพทย์ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนเจ้าหน้าที่ไม่สอดรับกับจำนวนผู้ป่วยที่เข้าไปใช้บริการ รวมไปถึงจำนวนสถานพยาบาลที่ไม่เพียงพอรองรับคนไข้
“หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine” เป็นการนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้ แบบ Real-Time เหมือนกับวิดีโอคอลที่ผู้ป่วยกับคุณหมอสามารถพูดคุยมองเห็นหน้ากัน โดยเป็นการคุยผ่าน แอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” หมอ กทม.”
สำหรับบริการดังกล่าวเป็นบริการที่ได้รับการดูแลโดยแพทย์จาก 11 โรงพยาบาลสังกัด กทม. ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลตากสิน, โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ, โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์, โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร, โรงพยาบาลราชพิพัฒน์, โรงพยาบาลสิรินธร, โรงพยาบาล, ผู้สูงอายุบางขุนเทียน โรงพยาบาลคลองสามวา และโรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ), นอกจากนี้ กทม. ยังได้จัดทำโครงการ Smart OPD ผ่านแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” ในโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และจะครบ 11 แห่ง ภายในปี 2567 พร้อมเชื่อมโยงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่มีระบบ Telemedicine รวมถึงขยายบริการเจาะเลือดที่บ้าน (Mobile Lab) และ Drive Thru Medicine (รับยาและเจาะเลือด)
นับว่าเป็นบริการครบจบในแอปพลิเคชันเดียว ที่จะช่วยให้ประชาชนได้รับบริการการรักษาที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้ ผ่านการให้คำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้คนไข้ที่ต้องพบแพทย์เป็นประจำและมีประวัติการรักษาอยู่แล้ว จะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ลดการเดินทาง ลดค่าใช้จ่าย และการพบหมอออนไลน์ยังสามารถรอรับยาที่บ้านได้เลย
7 คุณสมบัติเด่นของแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.”
1. นัดหมายแพทย์ล่วงหน้า
2. ตรวจสอบจำนวนคิวรอตรวจ
3. ตรวจสอบสิทธิรักษา
4. ลงทะเบียนตรวจรักษา
5. ชำระเงิน
6. แจ้งรับยาผ่านทางไปรษณีย์หรือรับด้วยตนเองที่ร้านยาใกล้บ้าน
7. บริการแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน พร้อมแชร์โลเคชันเพื่อขอรับความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
สแกนรับชมวิธีการดาวน์โหลดแอปฯ หมอ กทม.
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.”
ที่ https://bmadoctor.msdbangkok.go.th/app/bma
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนสุขภาพ
สำนักการแพทย์ กทม. โทร. 1646
___________________________________________
เรื่องโดย: กองบรรณาธิการ Bangkok News (กทม.สาร)
ที่มา: Bangkok News (กทม.สาร) ฉบับ 286
คลิกอ่านฉบับเต็มของ Bangkok News (กทม.สาร) ฉบับ 286 ได้ ที่นี่