Bangkok City for All ส่องผลงาน ‘ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ 1 ปี แห่งการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับการแถลงสรุปผลงานตลอด 1 ปี “365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน กรุงเทพฯ” ของ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ โดยงานนี้เป็นการสรุปภาพรวมการพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคนด้วย นโยบาย 9 ด้าน 9 ดี
ภาพรวมการทำงานและผลงานที่เป็นรูปธรรมตลอด 1 ปี จากเดิม 216 ปรับเป็น 226 นโยบาย ที่นำมาเป็นแกนหลักในการทำงาน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เริ่มดำเนินการแล้ว 211 นโยบาย และยังไม่ได้ดำเนินการ 11 นโยบาย และได้ยุติดำเนินการ 4 นโยบาย เนื่องจากไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ไปเป็นตามแนวคิดหลัก ดังต่อไปนี้
1. ผลักดันโครงการขนาดใหญ ่ เชื่อมโยงการพัฒนาเส้นเลือดฝอย
2. เปลี่ยนวิธีการทำงานโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูล
4. สร้างความโปร่งใสในการทำงาน
5. ร่วมมือกับเครือข่ายทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเมือง
การดำเนินโครงการ 9 ด้าน 9 ดี
กับ 28 ประเด็นพัฒนา
ภายใต้โครงการ 9 ด้าน 9 ดีการทำงาน ถูกแบ่งออกเป็น 28 ประเด็นพัฒนา ได้แก่
ปลอดภัยดี
1) แก้ไขจุดเสี่ยงภัยและอาชญากรรม
2) เพิ่มทรัพยากร ทักษะ และข้อมูลความปลอดภัยชุมชน
3) สร้างระบบเครือข่ายในพื้นที่จัดการสาธารณภัย
โปร่งใสดี
4) รายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม. ผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue
5) เผยแพร่ข้อมูลเปิดเผยการจัดซื้อ จัดจ้าง ขออนุญาตบริการออนไลน์ (Open Bangkok)
6) ยกระดับความร่วมมือในการต่อต้านการทุจริตกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง
เศรษฐกิจดี
7) เพิ่มโอกาสตลาดแรงงาน ฝึกอาชีพคนเมือง
8) เพิ่มพื้นที่ Hawker Center ตลาดค้าขาย
9) ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Soft Power) และเศรษฐกิจระดับย่าน
10) ปักหมุดสร้างเมืองดึงดูดการลงทุนระดับโลก
เดินทางดี
11) เดินได้ เดินดี
12) เพิ่มความคล่องตัวการเดินทาง
13) ป้องกันและแก้ปัญหานํ้าท่วม
14) ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และเพิ่มทางเลือกในการเดินทางสิ่งแวดล้อมดี
15) เพิ่มพื้นที่สีเขียว ต้นไม้
16) จัดการขยะอากาศ นํ้าเสียสุขภาพดี
17) สนับสนุนและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชนทุกกลุ่ม
18) ยกระดับระบบสุขภาพปฐมภูมิและเครือข่ายสาธารณสุข
19) พัฒนานวัตกรรมการศึกษาพยาบาล
20) เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลที่เชื่อมโยงไร้รอยต่อสังคมดี
21) เปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับกิจกรรมที่หลากหลาย
22) สนับสนุนเงื่อนไขการดำรงชีพคนไร้บ้านคนพิการและกลุ่มเปราะบาง
23) สร้างชุมชนเข้มแข็งร่วมพัฒนา
เรียนดี
24) ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กเล็กก่อนวัยเรียน (2-6 ปี)
25) พัฒนาสวัสดิการครูและนักเรียน
26) Transform หลักสูตรและห้องเรียนดิจิทัลบริหารจัดการดี
27) ระบบงาน เงิน คน ระเบียบที่มีประสิทธิภาพ
28) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมบริหารจัดการเมือง สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของนโยบายของกรุงเทพมหานครทั้งหมด ประชาชนสามารถติดตามได้ที่ http://openpolicy.bangkok.go.th/
ความสำเร็จของ Traffy Fondue
ช่องทางร้องทุกข์เพื่อคนเมืองหลวง
TraffyFondue อีกหนึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์สำคัญที่ กทม. เปิดให้ประชาชนแจ้งปัญหาได้ด้วยตนเอง 24 ชั่วโมง โดยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ ได้มากกว่า 70% ของปัญหาทั้งหมด โดยมีสถิติที่น่าสนใจ ดังนี้
– การแจ้งปัญหาทั้งหมด 301,649 เรื่อง สามารถแก้ปัญหาได้เสร็จสิ้น 217,930 เรื่อง
– รอรับเรื่อง 1,698 เรื่อง / ดำเนินการ 9,327 เรื่อง / ส่งต่อให้กับหน่วยงานอื่น ๆ 65,780 เรื่อง
– ระยะเวลาแก้ไขเฉลี่ยต่อเดือนลดลง 91.7% หรือเร็วขึ้น 11 เท่า (เก็บสถิติจากมิถุนายน 2565 – พฤษภาคม 2566)
– คะแนนความพึงพอใจจากประชาชน 3.84/5
1 ปี กับการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ
ตลอดระยะเวลา 1 ปี ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ กทม.ได้ผลักดันนโยบายที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ มีการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าให้กับประชาชนด้วยการจัด ตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดเขต ถนนคนเดิน ตลาดนัด เกษตรกร ทั้งยังขยายช่องทางให้กับสินค้าสร้างสรรค์กรุงเทพฯ (Made in Bangkok: MIB) โดย กทม. ได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากชุมชนมาสู่การเป็นสินค้าในกลุ่ม MIB นอกจากนี้ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มตลาด กทม. (Bangkok Brand Online) และกำลังขยายโอกาสให้ตลาดออนไซต์เข้าสู ่ระบบค้าขายออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้ผู้ค้าสามารถสร้างยอดขายได้จากทั้ง 2 ช่องทาง
“น้ำท่วม” “จราจร” และ “ฝุ่น PM2.5”
ปัญหาใหญ่ของคนกรุง
กับการแก้ไขทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตคนกรุงในวงกว้าง อย่าง น้ำท่วม การจราจรติดขัด และฝุ่น PM2.5 กทม. เดินหน้าแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างต่อเนื่องและเข้มข้น โดยออกแบบทั้งการแก้ไขระยะสั้น ที่สามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการแก้ไขระยะยาวที่เป็นรากฐานในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคต
น้ำท่วม : เข้าใจปัญหาในทุกมิติ
กทม. พยายามลดจุดเสี่ยงน้ำท่วม เฝ้าระวังน้ำท่วมจากน้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำหนุน แก้ปัญหาพื้นที่ต่ำ 50 เขต ซึ่งมีทั้งหมด 183 จุด แบ่งเป็นถนนสายหลัก 31 จุด ถนนสายรอง 105 จุด หมู่บ้านเอกชน 47 จุด อีกส่วนสำคัญคือการขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดำเนินการแล้วเสร็จ 7,115.40 กิโลเมตร (ท่อยาวรวม 6,441 กิโลเมตร) นอกจากนี้ยังได้เพิ่มแก้มลิงธรรมชาติ และพื้นที่รับน้ำปัจจุบันกรุงเทพฯ มีพื้นที่รับน้ำ 13,697,205 ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับน้ำแห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 3 แห่ง สามารถรับน้ำได้ 132,700 ลูกบาศก์เมตร และจะมีการจัดหาพื้นที่รับน้ำอีก 8,600,000 ลูกบาศก์เมตร
จราจร : ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยสำคัญ
การบริหารจัดการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ (ITMS) สามารถบริหารจัดการจราจรทั้งโครงข่ายและกวดขันวินัยจราจรในระยะสั้น จะจัดเก็บข้อมูลจราจรในวันธรรมดาและวันหยุด และประสานการทำงานกับตำรวจจราจรเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องและถูกต้อง ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แก้ปัญหา
ฝุ่น PM2.5 : ศึกษาต้นตอเพื่อการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดทีม ‘นักสืบฝุ่น’ ศึกษาต้นตอ PM2.5 หาที่มาของฝุ่นร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ตรวจจับรถควันดำจากต้นตอตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ปล่อยมลพิษ ขยายระบบการติดตามแจ้งเตือนฝุ่นสู่ระดับแขวง 1,000 จุด พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้สำหรับพื้นที่เปิด และเครื่องฟอกอากาศสำหรับพื้นที่ปิด
พลังการบริหารเมือง
จากความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
ความเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาชน และเหล่านี้คือตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการรวมพลังเพื่อเสริมประสิทธิภาพการบริหารเมือง
– กทม. สร้างต้นแบบการแยกขยะเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับประชาชนในการจัดการขยะ ในครัวเรือน พร้อมต่อยอดให้การแยกขยะในระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร ส่วนภาคเอกชนมีการแยกขยะต้นทางและขยะเปียกแบบมุ่งเป้า มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ “ไม่เทรวม” 930 ราย ทำให้สามารถแยกขยะเศษอาหารได้เฉลี่ย 1,650 ตัน/เดือน และมี 5,558 องค์กร ที่เข้าร่วมโครงการแยกขยะครบวงจร “BKK Zero Waste”
– ประชาชนและเอกชนในเขตต่าง ๆ ได้ร่วมกันพัฒนาลานกีฬา 1,034 แห่ง
– กทม. พัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank เพื่อส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม โดยลงนาม MOU ร่วมกับมูลนิธิ SOS และ VV Share
– สร้างการสื่อสารสองทางระหว่าง กทม. และประชาชนผ่านสภาคนเมืองประจำเขต เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิดตรงประเด็น และมีประสิทธิภาพ
ชวนประชาชนจับตาทุกนโยบายของ กทม.
เพื่อให้การผลักดันนโยบายและโครงการต่าง ๆ อยู่ในสายตาประชาชน กทม. ได้พัฒนา Open Policy Platform (http://openpolicy.bangkok.go.th/) แพลตฟอร์มติดตามนโยบายโดยประชาชนสามารถ “แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานใน 28 ประเด็นพัฒนา” และในเร็ว ๆ นี้ คนกรุงเทพฯ จะสามารถติดตามความคืบหน้าของนโยบายต่าง ๆ ได้เพิ่มเติม เช่น (1) 9 ด้าน 9 ดี (2) 28 ประเด็นพัฒนา (3) 200+ นโยบาย และ (4) โครงการที่เกี่ยวข้อง และการใช้งบประมาณในแต่ละโครงการ ซึ่งแพลตฟอร์มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 9 ด้าน 9 ดี ในหัวข้อ “โปร่งใสดี” สะท้อนให้เห็นความตั้งใจจริงของผู้ว่าฯ และคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เพื่อลดการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม
ทิศทางการพัฒนาเมือง
และคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพฯ ในอีก 3 ปีข้างหน้า
เมื่อผ่านปีแรกของการทำงานอันเข้มข้นมาแล้ว สิ่งที่ผู้ว่าฯ และคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร มองต่อไปคือการต่อยอดนโยบายต่าง ๆ ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อเดินหน้าพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดียิ่งขึ้น และแน่นอนว่าจะยังคงมีโครงการ 9 ด้าน 9 ดี เป็นแกนหลักในการดำเนินนโยบาย เช่น
ปลอดภัยดี : ปรับปรุงสถานีดับเพลิง 9 แห่ง และสร้างเพิ่ม 11 แห่ง
โปร่งใสดี : บริการ กทม.ออนไลน์ 100% ผ่าน OSS ปรับปรุงกฎหมายควบคุมอาคาร
เศรษฐกิจดี : สร้าง Branding ทั้ง 50 ย่าน ส่งเสริม Local Economy ร่วมกับผู้ประกอบการเอกชน พัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพ ผลิตแรงงานสู่ตลาดอย่างน้อย 1,000 ตำแหน่งต่อปี
เดินทางดี : สร้างทางเดินริมแม่นยำ 153 กิโลเมตร ลดจุดเสี่ยงจุดเฝ้าระวังนํ้าท่วม 83 จุด
สิ่งแวดล้อมดี : สวน 15 นาทีรวม 500 แห่งออกข้อบังคับ Low Emission Zone ให้รถทุกคันที่วิ่งเข้ากรุงเทพฯ จ่ายค่าธรรมเนียมมลพิษทางอากาศ
สุขภาพดี : ปรับปรุงศูนย์บริการสาธารณสุข 30 แห่งสร้างใหม่ 38 แห่ง ผ้าอนามัยฟรี 100% ในโรงเรียน
สังคมดี : สร้างศูนย์เยาวชน ศูนย์กีฬา หอศิลป์เพิ่มอย่างน้อย 5 แห่ง มีฐานข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน
เรียนดี : ปรับปรุง 274 ศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน และขยายการดูแลศูนย์เด็กเล็กให้ครอบคลุมทุกชุมชน นักเรียนกทม. สื่อสารภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และภาษาดิจิทัล (Coding) ได้
บริหารจัดการดี : ผังเมืองรวมใหม่ตามแนวคิด“บ้านใกล้งาน” สวัสดิการใหม่แก่พนักงานกวาดและเก็บขยะ 19,844 คน
เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายที่จะได้รับการต่อยอดตลอดระยะ 3 ปีนับจากนี้และแน่นอนว่าจะมีการนำเสนอนโยบายใหม่ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนภายใต้สภาพสังคมของกรุงเทพฯ ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เว็บไซต์ติดตามนโยบาย Open Policy
http://openpolicy.bangkok.go.th/
เรื่องโดย: กองบรรณาธิการ Bangkok News (กทม.สาร)
ที่มา: Bangkok News (กทม.สาร) ฉบับ 287
คลิกอ่านฉบับเต็มของ Bangkok News (กทม.สาร) ฉบับ 287 ได้ ที่นี่