หยุดเรื่องหน้าเศร้า ‘โรคซึมเศร้า’ รักษาฟรี จริงหรือ?
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในสังคมปัจจุบัน ความรู้สึกผิดหวัง อารมณ์เศร้า หรือแม้กระทั่งการเผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตประจำวัน อาจผลักดันคุณสู่ภาวะความเครียดโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวกับบางคนเท่านั้น แต่! น่าตกใจที่มันกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับอีกหลายคนที่ไม่สามารถเดินออกมาจากวังวนภาวะความเครียดสะสมนั้นได้ อาจด้วยหลายปัจจัยทั้งพันธุกรรมหรือพื้นฐานดั้งเดิมมีลักษณะนิสัยเป็นคนอ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบ ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคซึมเศร้าจำนวนมาก ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว หรือญาติที่รู้ว่าคนในครอบครัว คนใกล้ชิด นั้นมีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคนี้ ต้องไม่ตื่นตกใจและตั้งสติ เพราะผู้ป่วยโรคนี้ฆ่าตัวตายสำเร็จมาแล้วกว่า 1.5 ล้านคน ด้วยอาจหมดหนทางการแก้ปัญหา โรคนี้ถือเป็นโรคหนึ่งที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน และจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานหลายเดือน ควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัด
โรคซึมเศร้า แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
- โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว
- โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไปจนเกิดผลเสีย
ล่าสุดถือเป็นข่าวดี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ออกมาบอกว่า ใครก็ตามที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สามารถใช้สิทธิรักษาฟรีได้ โดยสามารถใช้กับหน่วยบริการและโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ ท้องถิ่น ชุมชน โรคซึมเศร้า ถือเป็นโรคทางจิตเวช โรคหนึ่งซึ่งอยู่ในสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลโดยปกติ ไม่ว่าจะเป็นระบบหลักประกันสุขภาพ ระบบข้าราชการ หรือระบบประกันสังคม บัตรทอง หรือบัตร 30 บาท มีระบบครอบคลุมคุ้มครองการรักษาทั้งหมดในกลุ่มโรคนี้ด้วย
การป้องกันโรคซึมเศร้าทำได้โดยปฏิบัติหลักสุขศึกษา คือ
- อาหาร ให้กินอาหารครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง
- ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30-40 นาที เป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็วก็ได้
- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กับที่ร่างกายต้องกาย ให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น
- การทำสมาธิ (Meditation) เพื่อผ่อนคลายจิตใจ มีงานวิจัยมากมายพบว่าการทำสมาธิช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
- การฝึกคิดบวก ป้อนความคิดทางบวกให้กับตัวเองอยู่เสมอเพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้
หากคุณหรือญาติหรือคนใกล้ตัวที่ประเมินสุขภาพจิตสุ่มเสี่ยง หรือสนใจอยากประเมินภาวะอารมณ์ของคุณ เพราะโรคนี้ต้องใช้เวลารักษายาวนานหลายเดือนหรือบางรายหลายปี นอกจากนี้ถ้าหากเราจะปรึกษา สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อป้องกันตัวเองนั้นไปสู่วังวนของโรคซึมเศร้า แนะนำเบอร์โทรสายด่วน จิตแพทย์ที่รักษา โรคซึมเศร้า ที่พร้อมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาอย่างถูกวิธี
- สายด่วน 1323 โดยผู้ที่ให้คำปรึกษาเป็นนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาลวิชาชีพ
- สายด่วน 081- 932 -0000 Depress we care โรงพยาบาลตำรวจ
- สายด่วน 02-713-6793 ( ทุกวัน ) ตั้งแต่เวลา 12.00-22.00 น. สมาคมสะมาธิตันส์แห่งประเทศไทย
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์
ภาพประกอบ : iStockphoto