งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๖ เมษายน ๒๕๖๒ จัดให้มีพิธีพลีกรรมตักน้ำพร้อมกันทั้ง ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ
งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในการจัดงานพระราชพิธีครั้งนี้ โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และมีคณะกรรมการจัดการฝ่ายต่างๆ เพื่อให้เกิดความพร้อมในพิธีที่สำคัญยิ่งใหญ่ในปีนี้ รัฐบาลยึดตามพระแนวพระราชกระแสรับสั่งให้จัดงานพระราชพิธีเป็นไปตามโบราณราชประเพณี ซึ่งพระราชพิธีได้แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ พิธีเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย
สำหรับพิธีเบื้องต้น จะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน ๒๕๖๒ โดยมีการเตรียมน้ำอภิเษกที่จะนำมาใช้ในพิธีสรงพระมุรธาภิเษก และการเตรียมน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาเป็นน้ำอภิเษก ซึ่งในพระราชพิธีครั้งนี้จะใช้ น้ำจากแม่น้ำ 5 สายสำคัญของไทย ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำราชบุรี และแม่น้ำเพชรบุรี เรียกว่า เบญจสุทธคงคา และน้ำจากสระ 4 สระในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ สระเกษ สระแก้ว สระคา และสระยมนา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับการสรงพระมุรธาภิเษกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รวมกับน้ำจาก 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร รวมแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้ จำนวน 108 แหล่ง
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดจุดและพิธีในการนำน้ำขึ้นมา โดยจะมีพิธีพลีกรรมตักน้ำพร้อมกันทั้ง 76 จังหวัด ในวันที่ 6 เมษายน ๒๕๖๒ และทำพิธีเสกน้ำอภิเษกตามอารามที่สำคัญของแต่ละจังหวัด ในวันที่ 8 – 9 เมษายนศกนี้ หลังจากนั้นเชิญน้ำต่างๆ มาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย และอัญเชิญจากกระทรวงมหาดไทยไปเสกน้ำอภิเษกรวมที่วัดสุทัศนเทพวราราม นอกจากนี้ ในพิธีเบื้องต้นยังมีการจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร ซึ่งจะทำให้เราจะทราบพระปรมาภิไธยของรัชกาลที่ 10
ที่มา: https://phralan.in.th
กรุงเทพมหานคร
ภาคเหนือ
ภาคใต้
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันตก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงใต้
ภาคตะวันตกเฉัยงเหนือ
ภาคตะวันตกเฉียงใต้