Matara Goes Bhutan…ชีวิต ศรัทธา ความสุข สัมผัสเสน่ห์ ณ ดินแดนแห่งมนต์ขลังภูฏาน
LIVE BELIEVE HAPPINESS…MATARA GOES BHUTAN
Bhutan is Calling ประเทศที่ต้องมีการวางแผนก่อนเดินทาง ไม่ได้เป็นประเทศที่นึกอยากไปแล้วไปได้ทันที เพราะว่าการเดินทางไปภูฏาณมีหลายขั้นตอนในการขอเข้าประเทศ ตามกฎล่าสุดเดือนมีนาคม 2566 นอกจากคนไทยจะต้องทำวีซ่าประเภทท่องเที่ยวล่วงหน้าแล้ว ยังต้องมีการชำระ Sustainable Development Fee (SDF) ที่คิดแบบรายวัน อยู่ที่ 200 USD ต่อคนต่อวัน ค่า SDF คือค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวต้องชำระให้กับประเทศภูฏาณเพิ่ม นอกเหนือจากค่าเดินทาง ค่าโรงแรม ค่าไกด์ หรือค่าอาหาร ซึ่งในส่วนนั้นสามารถเลือกตามความชอบ งบประมาณ และสไตล์ของตัวเองได ้ จึงทำให้เห็นว่าภูฏาณเป็นอีกหนึ่งใน Exclusive Destination ที่ไม่ได้ไปได้ง่าย ๆ
จุดประสงค์ของการเดินทางหลักในครั้งนี้คือ การตามรอยแพ็กเกจที่พักโรงแรม 5 ดาวดี ๆ ผ่านโปรโมชันสำหรับผู้ถือบัตร Citi & UOB Credit Card ใน AwakenII พร้อมเปิดประสบการณ์ตรงแบบกินหรูอยู่สบาย ทริปนี้เป็นการเที่ยวแบบ Hotel Hopping ที่เน้นพักผ่อนและมีการเปลี่ยนโรงแรมที่พักทุกวัน จำนวน 5 คืน 6 วัน ได้ไป Visit 7 โรงแรม* รวม 2 เมือง ก่อนมาเหยียบประเทศนี้จริง ๆ ส่วนตัวรู้จักประเทศนี้เพียงว่าเป็นประเทศที่ปกครองโดยมีพระมหากษัตรย์เป็นประมุขเหมือนประเทศไทย และมีความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ดีกับประเทศเรา ในการบันทึกการเดินทางครั้งนี้ ขอเรียกว่า Matara Goes Bhutan พร้อมผู้ร่วมเดินทางที่คุ้นเคยจาก Citi (ปัจจุบันเป็น UOB) ย้อนรอยความสนุกจากทริปแรกด้วยกันเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ที่ Maldives ครั้งนี้จะเป็นอย่างไร ต้องลองอ่านในบันทึกนี้กันค่ะ
ถึงแม้ Thimphu จะเป็นเมืองหลวงของ Bhutan แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาด้วยการบิน จะต้องมาลงท่าอากาศยานแห่งเดียวของประเทศ ที่ เมือง Paro เท่านั้น โดยการขึ้นและลงของสนามบินนี้ มีชื่อเสียงว่าอันตรายเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีเพียงนักบินไม่ถึง 10 คน ที่มีความชำนาญในการบังคับเครื่องบินลงจอด เป็นการเที่ยวที่ทำให้พวกเรารู้สึกพิเศษตั้งแต่เริ่มต้น ตื่นเต้น และรู้สึกดีใจที่ถึงสนามบินขนาดเล็กนี้ได้อย่างปลอดภัย
เริ่มรับรู้ได้ถึงความเป็นภูฏาณผ่านสถาปัตยกรรมบนตัวอาคาร ที่ตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก และการลงสีสันต่าง ๆ ซึ่งศิลปะแบบนี้จะมีใหเ้ห็นทั่วทั้งเมือง การต้อนรับจากคนท้องถิ่นจะทำการทักทายพร้อมผ้าพันคอสีขาวบริสุทธิ์ ที่มีความเชื่อว่าเป็นการต้อนรับด้วย Positive Energy ซึ่งการต้อนรับด้วยวิธีนี้ จะพบเจอได้เรื่อย ๆ เมื่อจบทริป ก็นับได้รวมราว 6 ผืน รถยนต์ที่ใช้เที่ยวในครั้งนี้เป็นแบบ Vintage Van น่ารักสไตล์ Hippie และให้อารมณ์เป็นการเดินทางแบบ Road Trip ในยุค 1950s ความหรูหราแบบรถ Limousine ผ่านการเดินทางจากเขาลูกหนึ่งไปเขาอีกลูกหนึ่ง จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้จากการเที่ยวในที่แห่งนี้ แต่ความบันเทิงต่าง ๆ เกิดขึ้นจากความสนุกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สร้างขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะเป็นการแวะถ่ายภาพตามจุดที่มีการปีนบันไดบริเวณหลังรถตู้บ้าง มีการหยุดพักทักทายกับร้านค้าเล็ก ๆ ข้างทางบ้าง ร้านค้าชาวบ้านข้างทางริมเขาที่พบเจอ มีร้านขายชีสแข็งที่ทำมาจากนมจามรี ขายผัก ผลไม้ พริกต่าง ๆ ส่วนมากเป็นของที่มาจากเกษตกรท้องถิ่น
ตลอดการเดินทางมีการเปิดเพลงจากมือถือผ่าน Internet ที่ Roaming มาได้บ้างไม่ได้บ้าง พอ ๆ กับถนนและทางที่ขรุขระ ดังนั้นความสะดวกสบายของการเดินทางจึงไม่ใช่เรื่องหลักของการมาเที่ยวประเทศนี้ รวมไปถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ วัดตั๊กซัง ที่มีชื่อเสียงสำหรับคนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวก็ต้องมีการเดินเท้าขึ้นและลง รอบละโดยประมาณ 2.30 ชั่วโมง มีการสักการะและพักอีก 1 ชั่วโมง รวมเป็นเวลาทั้งหมด 6 ชั่วโมง
สำหรับการไป Tiger Nest นี้ ทำให้การเดินทางไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ใครจะมีโอกาสไปเยือนก็ได ้แต่ต้องมีทั้งกำลังกาย และกำลังใจที่พร้อมสนับสนุนให้เดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง ซึ่งนี่คือบทเรียนสำคัญของการเดินทางในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ที่ทำให้พวกเรามองเห็นความสุขจากการเดินทาง ได้สัมผัสอะไรที่ไม่เคยสัมผัส ได้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น การชื่นชมยินดีกับสิ่งที่เรามี กับสิ่งที่เราเจอปัจจุบัน ไม่ใช่การพยายามมองหาความสุขจากสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น กับเรื่องที่เราคาดหวัง หรือการนำเอาความสุขไปผูกติดกับความสะดวกสบายหรือความเคยชิน ส่วนตัวจินเองเลยได้ตั้งเป้าหมาย ไม่เปิด Roaming Unlimited Data ในการไปเที่ยวต่างประเทศเป็นครั้งแรกในทริปนี้ เพื่อที่จะทำ Digital Detox แต่จะทำได้หรือเปล่านั้นต้องลองทำกันดูเองนะคะ
เมื่อพูดถึงอาหารพื้นเมืองของชาวภูฏาณ คนจากประเทศไทยอย่างพวกเราทานได้ง่ายสบายมาก เนื่องจากมีลักษณะรับประทานข้าว (ที่นั้นเป็นข้าวแดง = Red Rice) เป็นอาหารหลัก และมีกับข้าวอีกหลายอย่าง ส่วนมากเน้นเป็นจานผัก เช่น ผัดผักพริกผัดชีส ซุปฟักทอง สลัดผัก ผัดมะเขือ และสัดส่วนที่น้อยเป็นจานเนื้อสัตว์ เช่น หมูสามชั้นผัด และจานพิเศษคือ เนื้อจามรี หรือ Yak ผัดพริก ซึ่งถือว่าเป็น Rare dish มาก เพราะทราบข้อมูลเพิ่มเติมทีหลังว่า ที่เป็นแบบนี้เพราะคนภูฏาณเน้นรับประทานจากผลผลิตทางการเกษตรที่มีเท่านั้น และการฆ่าเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคนั้นมีการจำกัดโควต้า จึงทำให้คนท้องถิ่นไม่ได้รับประทานเนื้อสัตว์อย่างทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ผู้คนจึงเห็นคุณค่าของอาหารและการรู้ที่มาที่ไปอย่างนี้ สามารถปลูกจิตสำนึกให้จินและเพื่อน ๆ เองเป็นอย่างมาก
ส่วนในเรื่องเครื่องดื่มแอกกอฮอล์ สุราพื้นเมืองนั้นเรียกว่า Ara (อาร่า) มีลักษณะเป็นน้ำสีใสเหมือนโซจู หรือสาเก จะดื่มทานแบบอุณภูมิเย็นหรือแบบร้อนพร้อมข้าวพอง ก็ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายได้ดี อีกหนึ่งเครื่องดื่มร้อนที่ใครมาที่นี่จะต้องมีโอกาสได้ลองคือ Butter Tea (ชาเนยร้อน) ที่มีรสชาติจืด ออกเค็ม ๆ มัน ๆเหมือนซุป ให้พลังงานเหมาะกับสภาพอากาศที่หนาวของภูฏาณเป็นอย่างมาก
บทสรุปนั้นเรียบง่ายคือ นอกจากการได้ชมบ้านเมืองสิ่งปลูกสร้าง เช่น สถูป, พระใหญ่, วัด และจุดชมวิว ชมเทือกเขาที่สวยงามนั้นแล้ว เรายังคงได้เห็นความงดงามทางวัฒนธรรมผ่านสิ่งปลูกสร้าง หรือศิลปะที่ตกแต่งอย่างสวยงาม เน้นสีสด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจะไม่เห็นสีบนธงที่ปลิวไสวที่สะพานบ้าง บนภูเขาบ้าง ตลอดการเดินทางธง 5 สี (เขียว ขาว น้ำเงิน แดง เหลือง) นี้น่าสนใจที่ว่ามีบทสวดมนต์บนผืนธงทุกสี เชื่อว่าผู้ใดนำธงไปผูกในบริเวณที่มีลมพัด ลมนั้นจะช่วยนำบทสวดที่ดีนั้นปลิวไปกับสายลมตลอดเวลา ความเชื่อ และความศรัทธาของคนภูฏาณที่เรียบง่าย ไม่ปรุงแต่งมากนี้นั้น ทำใหเ้ราได้เรียนรู้เรื่องความสุข ความสงบนั้น สร้างได้ด้วยตัวเอง และเกิดจากพลังงานที่ดี ความคิดที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สอดแทรกอยู่ในทุกการใช้ชีวิตของคนภูฏาณนี้
อีกหนึ่งการปฏิบัติที่เราได้เรียนรู้จากที่นี่ คือการนั่งสมาธิสำหรับบุคคลปกติที่ไม่ใช่นักบวช เราได้มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคการหายใจเข้า (คิดว่าเป็นลมสีขาว Good Energy เข้าไปในร่างกายลงไปถึงช่องท้อง) และออก (คิดว่าเป็นลมสีดำ obstrucles, pain ความกังวลต่าง ๆ กำลังออกจากร่างกาย) การนั่งสมาธิของคนที่นี่ คือเป็นเหมือนการรับประทานอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน สอนให้นั่งครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 นาที ปฏิบัติมากถึง 10 ครั้งได้ต่อวัน
และนี่คือส่วนหนึ่งของการบันทึกการเดินทางในดินแดนนี้ ที่ไม่ได้หรูหรา (แต่โรงแรมที่ไปพักนั้นหรูหรา สวยงาม และสะดวกสบายมาตรฐานระดับโลก สามารถดูรายชื่อเพิ่มเติมจาก Awaken II) แต่ลึก ซึ้ง ไม่ได้ยิ่งใหญ่ แต่ยอดเยี่ยม ไม่ได้เน้นผลผลิต แต่เน้นพอเพียง ไม่ได้เน้น GDP (Gross Domestic Product) แต่เน้น GNH (Gross National Happiness) เลยทำให้ทุกวันนี้ ภูฏาณที่เป็นเหมือน Hidden Gem ประเทศเล็ก ๆ นี้ ยังมีผู้คนที่ใจดี ใจเย็น มีน้ำใจ มีความสุภาพเรียบร้อย และมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้า ซึ่งหาได้ยากมากในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ความโกลาหล ความขัดแย้งในความต่าง
และหวังว่าการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวด้วย SDF นี้ อาจส่งผลดีช่วยให้ประเทศถูกรักษาความสวยงามในวัฒนธรรม ความเชื่อที่ดีงามของชาวภูฏาณนี้สืบต่อไป จึงอยากทิ้งท้ายนักท่องเที่ยวที่จะไปเยือนนี้ว่า อย่าพยายามเปลี่ยนภูฏาณให้เป็นในแบบที่เราต้องการ แต่จงเที่ยวและมองภูฏาณอย่างที่มันเป็น เพราะมันเป็นสิ่งที่น่าค้นหา และหายากในโลกปัจจุบันนี้
* 7 โรงแรมที่ได้ไป Visit ในทริปนี้
Le Meridian Thimphu
Taj Tashi Thimphu
Amankora, Thimphu
Sixsenses, Thimphu
Bhutan Spirit Sanctuary
Como Uma Paro
Zhiwa Ling Heritage Hotel